วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

2.1  ข้อมูลและสารสนเทศ
       1.)  ข้อมูล
                 ข้อมูล (data)  หมายถึง  ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น  บันทึกข้อความ  รายงานการประชุม  ข้อมูลบนหน้าเว็บเพจ  เป็นต้น
           2.)  สารสนเทศ
                     สารสนเทศ (information)  หมายถึง  ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  ซึ่งถูกต้องแม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้   เช่น   การหาค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในแต่ละวัน  เป็นต้น
             3.)  ลักษณะของข้อมูลที่ดี
                    ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ   มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้    โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
                     - มีความถูกต้องและแม่นยำ
                     - มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
                     - ถูกต้อง  รวดเร็ว  และเป็นปัจจุบัน
                     - ความสอดคล้องของข้อมูล
              4.)  ชนิดและลักษณะของข้อมูล
                        ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น  2  ชนิด  ได้แก่
                         1.ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric  data) คือ  ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้  ซึ่งเขียนได้หลายรูปแบบ  คือ
                             - เลขจำนวนเต็ม  คือ ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม  เช่น 0,1,3,9,10,37,49  เป็นต้น
                             - เลขทศนิยม  คือ ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม  ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 17.0 หรือจำนวนที่มีเศษเป็นทศนิยมก็ได้  เช่น  5.788,37.855,45.236  เป็นต้น
                                เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ  คือ
                                ก) แบบที่ใช้ทั่วไป เช่น 7.0,42.53,55.689  เป็นต้น
                                ข) แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์  เช่น 123*104 หมายถึง 1230000.0  เป็นต้น   
                       2.ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ(character  data )  คือ  ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไคนวณได้  แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้  เช่น  ICT,COMPUTER,Network  เป็นต้น
                     Information  and Communication  Technology

                    5.) ประเภทของข้อมูล
                              เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้  2ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
                              1.ข้อมูลปฐมภูมิ (primary  data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง  ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น  ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง  ทันสมัย  และปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ  เช่น  ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต  การทดลอง  เป็นต้น
                                          
                               2.ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary  data )  คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว  ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้  เช่น  ข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา  ข้อมูลจากรายงานการวิจัย  เป็นต้น

                      2.2 กระบวนการจัดการสารสนเทศ
                                   เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2  ประเภท คือ
                             1.) การรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล
                                    1.การรวบรวมข้อมูล  เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านแป้นพิมพ์ตัวอักษร เป็นต้น
                                     2.การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล  ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลนั้นถูกต้อง
                             2.) การประมวลผลข้อมูล
                                    ประกอบด้วยขั้นตอน  ดังนี้
                                     1.การจัดกลุ่มข้อมูล  ควรจัดเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้ในการใช้งานต่อไป
                                     2.การจัดเรียงข้อมูล ควรควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับ เพื่อสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
                                      3.การสรุปผลข้อมูล สุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับและได้ใจความ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์
                             3.) การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล
                                       ประกอบด้วยขั้นตอน  ดังนี้
                                      1.การเก็บรักษาข้อมูล  การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูล
                                      2.การทำสำเนาข้อมูล  การคัดลอกต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา
                             4.)การแสดงผลข้อมูล
                                       1.การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล  เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วทันเวลา ผู้ใช้ก็สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ
                                       2.การปรับปรุงข้อมูล ควรติดตามผลตอบรับหลังจากเผยแพร่  เพื่อนำข้มูลมาแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
                           2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ 
                                       1.) ระบบเลขฐานสอง
                                                 การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง   เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลข(0) และหนึ่ง (1)  โดยแต่ละหลักจะเรียกว่า "บิต" (Binary  Digit : Bit ) และเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมาเรียงต่อกัน (8บิต(bit) เท่ากับ 1ไบต์(byte))
                                        2.) รหัสแทนข้อมูล
                                                  เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน   โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
                                                  - รหัสแอสกี (American  Standard Code Information Interchange:ASCII) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1ไบต์ แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว
                                                   -รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต  จะแทนตัวรูปแบบอักขระได้ 65,536 ตัว โดยสามารถแทนตัวอักษรแบบรูปภาพได้
                      3.)  การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
                                    - บิต (bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง(0กับ1) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
                                    - ตัวอักขระ (character) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆโดยตัวอักขระแต่ละตัวใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ในการแทนข้อมูล เช่น 0100  0001 ใช้แทนตัวอักขระ A เป็นต้น
                                    - เขตข้อมูล (field) คือ ข้อมูลที่เป็นอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
                                    - ระเบียนข้อมูล (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
                                    - แฟ้มข้อมูล (file)  คือ  กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
                                    - ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน
                                      2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
                                             1.) ความเป็นส่วนตัว
                                                     ความเป็นส่วนตัว (privacy)  ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง หากข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูงถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ก็จะเกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของข้อมูล
                                             2.) ความถูกต้อง
                                                      ความถูกต้อง (accuracy)  ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใดๆก็ควรที่จะตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง  ถ้าข้อมูลนั้นผิดจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย
                                              3.) ความเป็นเจ้าของ
                                                       ความเป็นเจ้าของ  (property)  การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน
                                              4.) การเข้าถึงข้อมูล
                                                        การเข้าถึงข้อมูล (accessibility)  การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล
ตอบคำถาม
16 บิต แทนอักขระได้กี่ตัว?
        



     
  
           
                        

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร

1.1ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร มีความหมายดังนี้

      เทคโนโลยี(Technology) การนำความรู้หรือวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ เช่นกล้องจุลทรรศน์ คอมพิวเตอร์ มือถือ  เป็นต้น

    สารสนเทศ(Information) ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ต่างๆ เช่น มีสุนัขคาบเด็ก จากข่าว  รังสิมาอยู่ห้องไหน ห้อง4/2มีกี่คน เป็นต้น


     การสื่อสาร(Communication) การส่งข้อมูลข่าวสาร จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคลคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่ง เช่น การส่งจดหมาย การใช้มือถือ การส่ง E-mail การส่งโทรเลข เป็นต้น

 เทคโนโลยีสารสนเทศ
    เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology : IT) หมายถึงการนำความรู้ หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
  เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร(Information and Communication Technology :ICT) คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารเเละโทรคมนาคม

1.2ระบบสารสนเทศ

     ระบบสารสนเทศ(Information system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บเเละจัดการกับข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ 
1.ฮาร์ดเเวร์

     ฮาร์ดเเวร์(Hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เเละอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น จอภาพ (Monitor) คีย์บอร์ด(Keyboard) เมาส์(Mouse) เป็นต้น
2.ซอฟต์เเวร์
    ซอฟต์เเวร์(Software) เป็นโปรเเกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์เเละอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ เเบ่งออกเป็น 2ประเภทดังนี้
 


     2.1ซอฟต์เเวร์ระบบ(System software) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงาน อุปกรณ์เเละซอฟต์เเวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ดอส(DOS) วินโดวส์(Windows) เป็นต้น


   2.2ซอฟต์เเวร์ประยุกต์(Application software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้เเต่ละคน เช่น ซอฟต์เเวร์ประมวลคำ (Word processor) ซอฟต์เเวร์ตารางทำงาน (Spreadsheet) เป็นต้น


3.ข้อมูล
     ข้อมูล(Data) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์เเละเชื่อถือได้ โดยจะถูกรวบรวมเเละป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เป็นต้น

4.บุคลากร
      บุคลากร (People) จะต้องมีความรู้เเละมีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน์ให้เกิดประโยชน์ โดยเเบ่งออกเป็นผู้พัฒนา เเละผู้ใช้ระบบสารสนเทศ เช่น นักเรียนเล่น Facebook อยู่ที่บ้าน เป็นต้น

5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
      ขั้นตอนการปฏิบัติงาน(Procedure) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบเเละวิธีการปฎิบัติตามคู่มือ การปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด 

1.3ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร

   1) ด้านการศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษา เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ เช่นระบบการลงทะเบียน เเละระบบการจัดตารางการเรียนการสอน เป็นต้น
   
  2)ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมเเละบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ
  
  3)ด้านการสื่อสารเเละโทรคมนาคม การสื่อสารเเบบไร้สาย เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คน ในสังคม ที่ต้องการความสะดวกเเละรวดเร็ว

  4)ด้านวิทยาศาตร์เเละเทคโนโลยี การวิจัยเเละการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ ล้วนเเล้วเเต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารทั้งสิ้น

  5)ด้านความบันเทิง รูปเเบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพเเละเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่สะดวกเเละรวดเร็ว

1.4เเนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร

- เทคโนโลยีเเบบไร้สาย ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น
- มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้น 
-อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร จะมีขนาดกระทัดรัดเเละมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
- การวางเเผน การคิดวิเคราะห์ เเละการตัดสินใจของมนุษย์ จะถูกเเทนที่โดยคอมพิวเตอร์
- ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวกเเละรวดเร็วทำใก้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจมากขึ้น
- หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง มีลักษณะของการเชื่อมโยง เป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆ

1.5ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร

- พฤติกรรมเลียนเเบบจากเกมส์ที่ใช้ความรุนเเรง
- การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนน้อยลง ส่งผลให้มิตรภาพทางสังคมน้อยลง
- การเข้าถึงข้อมูลระบบเครือข่าย ที่ง่ายทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่มขึ้น
- ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้ผลิตของผิดกฏหมายเเละละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น
- การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย ถ้าผู้ส่งไม่ระมัดระวังอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
- เมื่อเทคโนโลยี สารสนเทศเเละการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้นสิ่งที่ตามมาคือขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

1.6 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร

- นักเขียนโปรเเกรมหรือโปรเเกรมเมอร์
- นักวิเคราะห์ระบบ
- ผู้ดูเเลเเละบริหารฐานข้อมูล
- ผู้ดูเเลเเละบริหารระบบเครือข่าย
- ผู้พัฒนาเเละบริหารรระบบเว็บไซต์
- เจ้าหน้าที่เทคนิค


ตอบคำถาม

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ  1.Openoffice.org



 






วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

My profile

แนะนำตัว
นางสาว   รังสิมา    ทองทา
ชื่อเล่น  แบงค์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/2   เลขที่  37
โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์
น้ำหนัก   54  กิโลกรัม ส่วนสูง  164 เซนติเมตร
facebook   Rangsima    Thongtha
Line  28497
ที่อยู่   63/24   หมู่ที่  3  ตำบล ประตูชัย  

อำเภอ พระนครศรีอยุธยา  จังหวัด  พระนครศรีอยุธยา
เบอร์โทรศัพท์  089-4121-xxx

สีที่ชอบ   ฟ้า  ชมพู
วิชาที่ชอบเรียน  ฟิสิกส์  ภาษาไทย
เพื่อนสนิท  นางสาว ณัฐชา  พรมทัต
             ความใฝ่ฝัน แพทย์และพยาบาล